EN
/ TH

ภาพรวมธุรกิจ

ผู้รับสัมปทานในการจัดหาทุน ลงทุน ออกแบบ ก่อสร้าง ประกอบการและบำรุงรักษาทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถานที่ให้บริการด้านคมนาคมขนส่งยานพาหนะที่เดินทางเข้า-ออกระหว่างกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลในบริเวณทิศเหนือ และเป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทางยกระดับดอนเมือง

สัญญาสัมปทานทางหลวงในทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข
ถนนวิภาวดีรังสิต
ระยะทางสัมปทานทั้งสิ้นประมาณ
กิโลเมตร
อายุสัมปทานในการให้บริการประชาชนจนถึงวันที่
กันยายน 2577

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เป็นบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานในการจัดหาทุน ลงทุน ออกแบบ ก่อสร้าง ประกอบการและบำรุงรักษาทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงดินแดงถึงอนุสรณ์สถาน ภายใต้สัญญาสัมปทานทางหลวงในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต

จากกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยมีระยะทางสัมปทานทั้งสิ้นประมาณ 21 กิโลเมตร และมีอายุสัมปทานในการให้บริการประชาชนจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2577 ทั้งนี้ ทางยกระดับอุตราภิมุข เป็นทางยกระดับที่ให้บริการด้านคมนาคมขนส่งยานพาหนะที่เดินทางเข้า-ออกระหว่างกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลในบริเวณทิศเหนือ และเป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับสัมปทานทางหลวงของบริษัทฯ เป็นลักษณะ BTO (Build – Transfer – Operated) กล่าวคือ เมื่อบริษัทก่อสร้างทางยกระดับและอาคารแล้วเสร็จ บริษัทฯ ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทางยกระดับอุตราภิมุขทั้งหมดให้กับกรมทางหลวง และบริษัทฯ ได้รับสิทธิในการบริหารจัดการทางยกระดับตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานอัน รวมถึงสิทธิในการจัดเก็บค่าผ่านทาง ดังนั้น การดำเนินการใดๆ ของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานที่มีต่อกรมทางหลวงและคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสียเป็นองค์ประกอบสำคัญนอกเหนือจากการให้บริการที่ดีด้านคมนาคมต่อประชาชน

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทางยกระดับอย่างครบวงจร อันได้แก่ การจัดเก็บค่าผ่านทาง การอำนวยความสะดวกในการจราจร การกู้ภัย และการซ่อมบำรุงรักษาทางยกระดับ

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เป็นบริษัทเอกชนผู้ดำเนินการก่อสร้าง และให้บริการทางยกระดับช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถานฯ ภายใต้สัญญาสัมปทานทางหลวงในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต

ทางหลวงสัมปทานเดิม

เริ่มก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ กม. 5+700 บริเวณดินแดง ถึง กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง ระยะทางประมาณ

15.4
กิโลเมตร
ทางหลวงสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ

ก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง ถึง กม. 26+700 บริเวณอนุสรณ์สถานฯ ระยะทางประมาณ

5.6
กิโลเมตร

ในปี 2530 รัฐบาลมีนโยบายเชิญชวนภาคเอกชนมาร่วมลงทุนในโครงการสัมปทานทางหลวงลักษณะ Build-Operate-Transfer (BOT) (ในภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น Build-Transfer-Operate: BTO ตามบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวงครั้งที่ 2 ในปี 2539 (MOA 2/2539)) เพื่อแก้ไขปัญหาความหนาแน่นของปริมาณการจราจรบนถนนวิภาวดี-รังสิต ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการระบายจราจรเข้า-ออกจากกรุงเทพมหานคร สู่ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นเส้นทางหลักไปสู่ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักระหว่างประเทศแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ณ ขณะนั้น โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง จัดหาทุนและกู้เงินมาลงทุนทั้งหมด เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด ณ ขณะนั้น ในขณะที่ภาคเอกชนที่มาลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมในการลงทุนดังกล่าว และจะได้รับสิทธิในการบริหารจัดการทางยกระดับตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานอันรวมถึงสิทธิในการจัดเก็บค่าผ่านทาง

โดยบริษัทฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ ในรูปแบบของบริษัทจำกัด โดยบริษัท ศรีนครการโยธา จำกัด (ศรีนครฯ) และบริษัท ดิคเกอร์ฮอฟฟ แอนด์ วิดมานน์ จำกัด (ดิคเกอร์ฮอฟฟ์) ภายใต้ชื่อ บริษัท ดอนเมืองโทล์ลเวย์ จำกัด เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2531 และได้ลงนามสัญญาสัมปทานโครงการก่อสร้างทางยกระดับจากกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2532 (สัญญาสัมปทานทางหลวงฯ หรือ สัญญาสัมปทานเดิม) โดยได้เริ่มก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ กม. 5+700 บริเวณดินแดง ถึง กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง ระยะทางประมาณ 15.4 กิโลเมตร ซึ่งเรียกว่า “ทางหลวงสัมปทานเดิม” จากนั้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 บริษัทฯ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวงฯ ครั้งที่ 2/2539 (MOA 2/2539) โดยได้ก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง ถึง กม. 26+700 บริเวณอนุสรณ์สถานฯ ระยะทางประมาณ 5.6 กิโลเมตร ซึ่งเรียกว่า “ทางหลวงสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ”

บริษัทฯ จึงเป็นผู้รับสัมปทานในการก่อสร้างและให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถานฯ (“ทางยกระดับดอนเมือง”) จัดเก็บและเป็นเจ้าของรายได้ค่าผ่านทางภายใต้สัญญาสัมปทานทางหลวงฯ และบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวงฯ 3 ฉบับ (MOA 1/2538 MOA 2/2539 และ MOA 3/2550) จากกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม โดยมีระยะทางสัมปทานทั้งสิ้นประมาณ 21 กิโลเมตร โดยปัจจุบัน บริษัทฯ ได้รับการขยายอายุสัมปทานในการให้บริการประชาชนจนตาม MOA 3/2550 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2577 ทั้งนี้ การดำเนินการใด ๆ ของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานที่มีต่อกรมทางหลวง และคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสียเป็นองค์ประกอบสำคัญนอกเหนือจากการให้บริการที่ดีด้านคมนาคมต่อประชาชน

ในส่วนของการชำระค่าผ่านทาง ผู้ใช้ทางยกระดับดอนเมืองจะชำระค่าผ่านทาง ณ บริเวณทางขึ้นและบนทางยกระดับที่ด่านเก็บเงินทั้ง 9 แห่ง โดยอัตราค่าผ่านทางได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าภายใต้บันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน ฉบับที่ 3/2550 ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 ซึ่งมีกำหนดการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าผ่านทางทุกๆ 5 ปี โดยอัตราค่าผ่านทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบร่วมกันว่าเป็นอัตราที่คำนวณไว้อย่างเหมาะสมแล้ว

ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน ฉบับที่ 3/2550 ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 ได้กำหนดอัตราค่าผ่านทางที่เรียกเก็บจากยานพาหนะทุกประเภทตามอัตราและตารางเวลาที่กำหนดดังต่อไปนี้

ทางด่วน

แผนผังเส้นทางการให้บริการของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)