ประวัติบริษัท
- 2563
- 2562
- 2558
- 2557
- 2556
- 2554
- 2553
- 2550
- 2539
- 2538
- 2537
- 2532
- 2531
- ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ฝ่ายบริหารได้จัดตั้งคณะจัดการเหตุฉุกเฉินโรคระบาดเพื่อวางแผนดำเนินการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (แผน BCP) โดยด้านการปฏิบัติการได้มีการวางแผนการทำงานรองรับสถานการณ์การระบาดในกรณีต่างๆ โดยไม่ให้การทำงานของบริษัทฯ หยุดชะงัก ยังคงให้บริการจัดเก็บค่าผ่านทาง การกู้ภัย การอำนวยการจราจร และงานด้านอื่นๆ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะที่มีการ Lockdown ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและประกาศเคอร์ฟิวได้วางแผนให้พนักงานบางส่วนสามารถทำงานที่บ้านได้ (Work from Home) ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 เป็นจำนวนรวม 44 วัน ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาสัมปทานที่จะต้องให้การบริการต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงโดยไม่หยุดชะงัก และต่อมาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 รวมเป็นเวลา 160 วัน ได้จัดให้มีระบบเหลื่อมเวลาการทำงานเพื่อให้พนักงานหลีกเลี่ยงความแออัดของการเดินทางโดยรถสาธารณะในช่วงเวลาเร่งด่วน
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ได้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ โดยหลังจากทราบการประกาศแถลงข่าวการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563 คณะจัดการเหตุฉุกเฉินโรคระบาด ได้จัดประชุมเพื่อหารือมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ COVID-19 ในการระบาดระลอกใหม่ตามแผน Business Continuity Plan (แผน BCP) ร่วมกับผู้บริหารจำนวน 23 ท่าน ในทันที จำนวน 5 ครั้ง ซึ่งฝ่ายบริหารได้ถอดบทเรียนและนำกระบวนการจัดการในการระบาดระลอกแรกช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 มาใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างทันที จากการติดตามมาตรการของภาครัฐ ได้ชี้แจงมาตรการควบคุมโรคระบาดว่า จะไม่มีการประกาศเคอร์ฟิวเพื่อล็อกดาวน์ทั้งประเทศอย่างเช่นการระบาดครั้งที่ผ่านมา แต่ในการควบคุมโรคระบาดในครั้งนี้จะเป็นการขอความร่วมมือและงดการเดินทาง และล็อกดาวน์บางพื้นที่เท่านั้น สำหรับบริษัทฯ ได้ประกาศให้พนักงานบางส่วนสามารถทำงานที่บ้านได้ (Work from Home) ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2563 และดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ บริเวณอาคารด่านและตู้เก็บค่าผ่านทาง อาคารสำนักงาน และรถปฏิบัติการ รวมถึงมีสวัสดิการด้านสุขภาพตรวจคัดกรองเชื้อ COVID-19 ฟรีแบบสมัครใจมีระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2564 ที่โรงพยาบาลวิภาวดี
- บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ของโครงการจนแล้วเสร็จทั้งหมดและดำเนินการทดสอบ Commissioning Test , Burn in Test รวมถึง Acceptance Test เรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯ สามารถเริ่มใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้บริการผู้ใช้ทางได้แล้ว ตัวอย่างเช่น การใช้กล้อง CCTV บนสายทางและในตู้เก็บค่าผ่านทาง เพื่อตรวจตราสภาพจราจรและการให้บริการ ถึงแม้ว่าการติดตั้งอุปกรณ์ของโครงการ Smart Project จะเสร็จสมบูรณ์แล้วแต่กระบวนการปรับค่าของซอฟท์แวร์การตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติและซอฟท์แวร์บริหารจัดการจราจร ยังคงต้องดำเนินการอยู่เพื่อให้ค่าความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
- โครงการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง Manual Toll Collection System (MTC) และการเตรียมการเพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง Electronic Toll Collection System (ETC) บริษัทฯ ได้ดำเนินการจ้างกิจการร่วมค้าคิวฟรี-ยูเทล เพื่อดำเนินการติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางแบบ Manual Toll Collection System (MTC) และการเตรียมการเพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง Electronic Toll Collection System (ETC) ระยะเวลา 16 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึง เมษายน 2564 โดยมีการติดตั้งสายสัญญาณที่ใช้ในระบบเก็บค่าผ่านทางใหม่ตลอดทั้งสายทางรวมทั้งติดตั้ง Data Center และ Disaster Recovery Site (DRSite) และในเดือนกันยายน 2563 เริ่มทำการติดตั้งระบบทดสอบที่ช่องทาง (Demo Lane Test) ที่ด่านอนุสรณ์สถานฯ ช่องทาง 05 เมื่อทดสอบความถูกต้องและผ่านตามเกณฑ์แล้ว จะนำไปติดตั้งในทุกช่องทางต่อไป
- โครงการศึกษาระบบเก็บค่าผ่านทางเพื่อทดแทนบัตร Smart Purse ด้วยบัตร EMV เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562 บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรผู้ให้บริการบัตร Smart Purse ในระบบ Smart Touch มาตั้งแต่ปี 2556 ได้ขอยกเลิกการให้บริการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตร Smart Purse เนื่องจากนโยบายของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ดฯ มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการประชาสัมพันธ์ใก้แก่ผู้ใช้ทางทราบเป็นการล่วงหน้าแล้ว โดยบริษัทฯ ได้มีการเตรียมการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทดแทนบัตร Smart Purse ด้วยบัตร EMV มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 บริษัทฯ ได้ร่วมดำเนินการศึกษาพัฒนาระบบรับชำระด้วยบัตร EMV กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (KTB) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบทดแทนการชำระด้วย Smart Purse อีกทั้งยังพิจารณาศึกษาการรับชำระด้วย QR Code เพื่อรองรับการชำระค่าผ่านทางตามรูปแบบสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ซึ่งการพัฒนาระบบนี้ จะดำเนินการไปพร้อมๆ กับ การพัฒนาระบบ MTC และ ETC ของบริษัทฯ
-
การพัฒนาโครงการในอนาคตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งเมืองหลัก ซึ่งบริษัทฯ มีแผนงานในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจได้พิจารณาแผนธุรกิจด้านการศึกษาโครงการใหม่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 โครงการใหม่ที่ภาครัฐเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุน ตามความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ในการเป็นผู้รับสัมปทานการให้ดำเนินงานและบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษและทางพิเศษ (Motorway/Expressway Projects)
กลุ่มที่ 2 โครงการทางเชื่อมทางยกระดับอุตราภิมุขตามนโยบายของภาครัฐและการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ (Tollway Connecting Ramp and Transit Oriented Development (TOD) Projects)
กลุ่มที่ 3 โครงการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางด่วนและทางพิเศษ (Non-Toll Business)
กลุ่มที่ 4 คือการเตรียมพัฒนาทางยกระดับในทุกๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพและความทันสมัยก่อนสิ้นสุดสัมปทาน รวมทั้งวางแผนงาน ในการดำเนินโครงการต่อเนื่องภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด
โดยการดำเนินการในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด
- การลงนามใน MOU เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติ “แบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow)” ในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน (Single Platform System) ร่วมกันระหว่าง 5 หน่วยงานคือ กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไท บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ และ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง โดยคาดว่าการศึกษาของกรมทางหลวงจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับการจ้างดำเนินงานและบำรุงรักษาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางในอนาคต และถือเป็นการสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นพร้อมทั้งออกแบบระบบงานที่สามารถปฏิบัติได้จริงต่อไป
- จากความสำเร็จของการออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวในเดือนธันวาคม 2553 มูลค่ารวม 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นกู้ 7 ชุด อายุตั้งแต่ 3-10 ปี ทำให้บริษัทฯ สามารถลดความผันผวนของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดความคล่องตัวและสามารถสร้างผลประโยชน์ตอบแทนจากการบริหารจัดการกระแสเงินสดได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จ่ายชำระคืนหุ้นกู้ 2 ชุดสุดท้ายที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2563 จำนวนรวม 1,640 ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นปี 2563 บริษัทฯ ไม่มีภาระหนี้สินหุ้นกู้แล้ว
- สำหรับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานนั้น บริษัทฯ ได้จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ค.ป.อ.) โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธานซึ่งมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง และมีสายงานบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยฯ โดยมีผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการเป็นผู้ดูแลหน่วยงานโดยตรง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย เพื่อดูแลพนักงานให้ได้รับความปลอดภัย มีอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมอาชีวอนามัยและให้พนักงานตระหนักถึงการทำงานด้วยความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องมาตลอดทุกปี โดยมีเป้าหมายที่ต้องการลดอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ซึ่งในปี 2563 นี้ บริษัทฯ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ กิจกรรมรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ประจำปี 2563 (Zero Accident Campaign 2020) ประกอบกับการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพพลานามัยและสร้างความสามัคคีในทุกๆ ปี นอกจากนั้น จะมีการประสานงานให้มีการซ้อมแผนการเตรียมการเพื่อรับภาวะฉุกเฉินที่ได้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2553 เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านการชุมนุมและปิดการจราจรที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพนักงาน ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ได้มาจากความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกๆ ส่วนงาน นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังคงมีเป้าหมายที่จะรักษามาตรฐานระดับก้าวหน้าเอาไว้ในปีต่อๆ ไป และมุ่งมั่นพัฒนาไปสู่ระดับยั่งยืน ซึ่งเป็นจุดหมายที่ท้าทายความสามารถในอนาคต อีกด้วย
ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจการตามเป้าหมายของแผนธุรกิจที่วางไว้ โดยมีผลงานที่เป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- โครงการพัฒนาระบบการให้บริการทางด่วนสำหรับระบบการจัดการจราจรและอำนวยความสะดวก (Traffic Control & Surveillance System) – Smart Project ผู้รับจ้างคือ นิติบุคคลร่วมทำงาน (Consortium) ซึ่งประกอบด้วย บริษัท วันดีทูกรุ๊ป จำกัด บริษัท ฮันนี่เวลล์ ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ได้ดำเนินการก่อสร้างห้อง Operation Control Center (OCC) รวมถึงการเปลี่ยนแทนกล้อง CCTV ที่อาคารด่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ บริเวณทางยกระดับคืบหน้าไปมาก โดยมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับการคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ใช้ทางควบคู่กันไป เพื่อเปิดใช้งานจริงในปี 2563
- โครงการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง Manual Toll Collection System (MTC) และการเตรียมการเพื่อพัฒนาระบบ จัดเก็บค่าผ่านทาง Electronic Toll Collection System (ETC) บริษัทฯ ได้คัดเลือกผู้รับจ้างของโครงการในปี 2562 โดยได้จัดทำ Detail Design และเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2562 หลังจากนั้นได้คัดเลือกผู้รับเหมาติดตั้งอุปกรณ์ และที่ปรึกษาควบคุมงานแล้วเสร็จเดือนตุลาคม 2562 และมีแผนการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การปรับปรุงระบบ MTC และเตรียมความพร้อมระบบ ETC และระยะที่ 2 การพัฒนาระบบ ETC ซึ่งต่อมากรมทางหลวงเห็นชอบหลักการให้บริษัทฯ พัฒนาระบบ ETC ไปพร้อมๆ กับงานระยะที่ 1 ซึ่งตาม แผนการดำเนินโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2564
- โครงการพัฒนาระบบการให้บริการทางด่วนสำหรับระบบการจัดการจราจรและอำนวยความสะดวก (Traffic Control & Surveillance System) – Smart Project ผู้รับจ้างคือ นิติบุคคลร่วมทำงาน (Consortium) ซึ่งประกอบด้วย บริษัท วันดีทูกรุ๊ป จำกัด บริษัท ฮันนี่เวลล์ ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ได้ดำเนินการก่อสร้างห้อง Operation Control Center (OCC) รวมถึงการเปลี่ยนแทนกล้อง CCTV ที่อาคารด่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ บริเวณทางยกระดับคืบหน้าไปมาก โดยมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับการคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ใช้ทางควบคู่กันไป เพื่อเปิดใช้งานจริงในปี 2563
- โครงการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง Manual Toll Collection System (MTC) และการเตรียมการเพื่อพัฒนาระบบ จัดเก็บค่าผ่านทาง Electronic Toll Collection System (ETC) บริษัทฯ ได้คัดเลือกผู้รับจ้างของโครงการในปี 2562 โดยได้จัดทำ Detail Design และเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2562 หลังจากนั้นได้คัดเลือกผู้รับเหมาติดตั้งอุปกรณ์ และที่ปรึกษาควบคุมงานแล้วเสร็จเดือนตุลาคม 2562 และมีแผนการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การปรับปรุงระบบ MTC และเตรียมความพร้อมระบบ ETC และระยะที่ 2 การพัฒนาระบบ ETC ซึ่งต่อมากรมทางหลวงเห็นชอบหลักการให้บริษัทฯ พัฒนาระบบ ETC ไปพร้อมๆ กับงานระยะที่ 1 ซึ่งตาม แผนการดำเนินโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2564
- โครงการศึกษาระบบเก็บค่าผ่านทางเพื่อทดแทนบัตร Smart Purse ด้วยบัตร EMV เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562 บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรผู้ให้บริการบัตร Smart Purse ในระบบ Smart Touch มาตั้งแต่ปี 2556 ได้ขอยกเลิก การให้บริการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตร Smart Purse เนื่องจากนโยบายของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ดฯ มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ใช้ทางทราบเป็นการล่วงหน้าแล้ว โดยบริษัทฯ ได้มีการ เตรียมการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทดแทนบัตร Smart Purse ด้วยบัตร EMV มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ติดตามจากการดำเนินการของภาครัฐที่สนับสนุนการชำระเงินด้วยบัตร EMV บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ การเปลี่ยนแปลงบัตรของธนคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้เป็นบัตร EMV ที่มีสัญลักษณ์ Pay Wave (EMV 4.0) ที่เป็นสากล และใช้งานได้ทั่วโลก โดยบริษัทฯ ได้หารือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (KTB) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบทดแทนการชำระด้วย Smart Purse
- การพัฒนาโครงการในอนาคตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล รวมทั้งเมืองหลัก ซึ่งบริษัทฯ มีแผนงานในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการ พัฒนาธุรกิจได้พิจารณาแผนธุรกิจด้านการศึกษาโครงการใหม่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 โครงการใหม่ที่ภาครัฐเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุน ตามความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ในการเป็นผู้รับสัมปทาน การให้ดำเนินงานและบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษและทางพิเศษ (Motorway/Expressway Projects)
กลุ่มที่ 2 โครงการทางเชื่อมทางยกระดับอุตราภิมุขตามนโยบายของภาครัฐและการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ (Tollway Connecting Ramp and Transit Oriented Development (TOD) Projects)
กลุ่มที่ 3 โครงการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางด่วนและทางพิเศษ (Non-Toll Business)
กลุ่มที่ 4 คือการเตรียมพัฒนาทางยกระดับในทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพและความทันสมัยก่อนสิ้นสุดสัมปทาน รวมทั้ง วางแผนงานในการดำาเนินโครงการต่อเนื่องภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด
- จากความสำเร็จของการออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวในเดือนธันวาคม 2553 มูลค่ารวม 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นกู้7 ชุด อายุตั้งแต่ 3-10 ปีทำาให้บริษัทฯ สามารถลดความผันผวนของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังส่งผล ให้เกิดความคล่องตัวและสามารถสร้างผลประโยชน์ตอบแทนจากการบริหารจัดการกระแสเงินสดได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จ่าย ชำาระคืนหุ้นกู้ที่ครบกำาหนดไถ่ถอนในเดือนธันวาคม 2562 จำานวนรวม 1,100 ล้านบาท ทำาให้ยอดหุ้นกู้ของบริษัทฯ ณ สิ้นปี2562 ลดลงเป็น 1,640 ล้านบาท
- สำาหรับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานนั้น บริษัทฯ ได้จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำางาน (ค.ป.อ.) โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน ซึ่งมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง และมีสายงานบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยฯ โดยมีผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการเป็นผู้ดูแลหน่วยงานโดยตรง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ สำาคัญในการกำาหนดนโยบายและแผนปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย เพื่อดูแล พนักงานให้ได้รับความปลอดภัย มีอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำางานที่ดีประกอบกับการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาเพื่อ สุขภาพพลานามัยและสร้างความสามัคคีในทุก ๆ ปีนอกจากนั้น จะมีการประสานงานให้มีการซ้อมแผนการเตรียมการเพื่อรับภาวะ ฉุกเฉินที่ได้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี2553 เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านการชุมนุมและปิดการจราจรที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพนักงาน
และเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562 บริษัทฯ ได้รับรางวัล “Thailand Vision Zero ระดับก้าวหน้า ประจำปี2562” ณ ศูนย์ นิทรรศการไบเทค บางนา ซึ่งความสำาเร็จในครั้งนี้ได้มาจากความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุก ๆ ส่วนงาน นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังคง มีเป้าหมายที่จะรักษามาตรฐานระดับก้าวหน้าเอาไว้ในปีต่อ ๆ ไป และมุ่งมั่นพัฒนาไปสู่ระดับยั่งยืน ซึ่งเป็นจุดหมายที่ท้าทายความ สามารถในอนาคต อีกด้วย
จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Business Continuity Plan : BCP)
บริษัทฯ ได้ประสบความสำเร็จในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Business Continuity Plan : BCP) สำหรับทุกส่วนงานในองค์กร โดยเฉพาะทางด้านเทคโนยีสารสนเทศ เพื่อใช้รองรับสถานการณ์กรณีเกิดสภาวะวิกฤติ รวมถึง กำหนดใช้พื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง ซึ่งเป็นแผนงานต่อเนื่องจากการปรับปรุงขั้นตอนการควบคุมภายในของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) ตามความเห็นของบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด
พัฒนาต่อยอดระบบ ERP ในส่วนของการซ่อมบำรุง
บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท เมโทรโพลิแทน เอ็กซ์เพรสเวย์ จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ในส่วนงานซ่อมบำรุงรักษาทางยกระดับดอนเมืองและการบริหารทรัพย์สินของระบบอุปกรณ์หลัก (Asset Management) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์บนทางยกระดับดอนเมือง จนสามารถใช้งาน (Go Live) ได้เป็นผลสำเร็จตามแผนในเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลทำให้การบริหารจัดการภายในที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น อันส่งผลดีต่อแผนการนำหุ้นสามัญของบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป
บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการภายใน (Internal Control) ไม่ว่าจะเป็นการจัดโครงสร้างบริษัทฯ การปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายใน การกำหนดระเบียบปฏิบัติต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของ Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission (COSO) ตามคำแนะนำของบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาธุรกิจของบริษัทฯ โดยการสอบทานและปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายใน ก็เพื่อความโปร่งใสและเป็นมาตรฐาน รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมของบริษัทฯ ในการดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
เปิดตัวการใช้บัตร Smart Purse ชำระค่าผ่านทางอย่างเป็นทางการ
เพื่อเพิ่มความพึงพอใจและความสะดวกให้ผู้ใช้ทางในการชำระค่าผ่านทาง บริษัทฯ ได้มีความร่วมมือกับบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บมจ. ซีพีออลล์ ผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ในการดำเนินการทดลองการใช้บัตรสมาร์ทเพิร์ส สำหรับเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ทางในการชำระค่าผ่านทาง โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการทดลองใช้บัตรสมาร์ทเพิร์สมาตั้งแต่ปี 2553 จนได้รับความเห็นชอบจากกรมทางหลวงในฐานะผู้ให้สัมปทานในปี 2555 และในเดือนมกราคม 2556 จึงได้จัดงานเปิดตัวการใช้บัตร Smart Purse เพื่อชำระค่าผ่านทาง อย่างเป็นทางการ รวมถึงมีโครงการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อกระตุ้นยอดใช้บัตร Smart Purse ในการชำระค่าผ่านทางให้มากยิ่งขึ้น
การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบจัดการจราจรและอำนวยความสะดวก
จากการที่ระบบการจัดการจราจรและอำนวยความสะดวกในปัจจุบันได้ใช้งานมาตลอด 24 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 18 ปี ซึ่งในขณะนี้ได้มีเทคโนโลยีและSoftware สมัยใหม่ที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือให้การทำงานของผู้ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงจะช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ทางให้ดียิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ CCTV อุปกรณ์ Matrix Sign หรือ Variable Message Sign เป็นต้น อีกทั้ง จากการที่ห้องศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ (Communication & Control Unit) และ IT Data Center อยู่ที่ชั้น 1 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ภาวะน้ำท่วม ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงเห็นควรที่จะมีการพัฒนาระบบการจัดการจราจรและอำนวยความสะดวกให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงเตรียมการย้ายห้องศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ (Communication & Control Unit) และ IT Data Center ขึ้นมาอยู่ที่ชั้น 2 ซึ่งจะช่วยให้สามารถให้บริการทางยกระดับได้ตามปกติ (Business Continuity plan) แม้ในภาวะน้ำท่วม ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้หารือแนวทางการพัฒนาระบบดังกล่าวร่วมกับบริษัท Metropolitan Expressway จำกัด (“MEX”) ผู้เชี่ยวชาญการให้บริการทางด่วนทั้งแบบทางด่วนยกระดับ ทางด่วนพื้นราบ และทางด่วนในอุโมงค์ระยะทางรวมประมาณ 300 กิโลเมตร ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันต่อไปอีกด้วย และยังเป็นการก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลของบริษัทฯ ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดังกล่าวแล้วเสร็จในปี 2556 ซึ่งบริษัทฯ จะดำเนินการออกแบบรายละเอียดเพื่อการดำเนินการก่อสร้างต่อไป
การปรับเปลี่ยนมาตรฐานการบันทึกบัญชี
บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนมาตรฐานการบันทึกการบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ (TFRS) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ (IFRS) โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เพื่อความโปร่งใสในการแสดงข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมของบริษัทฯ สำหรับการดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป
การประยุกต์ใช้ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
บริษัทฯ ยังได้นำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการด้านข้อมูลและขั้นตอนการทำงานผ่านระบบ สำหรับใช้ในการบริหารจัดการและการควบคุมภายในของบริษัทฯ เพื่อลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนหรือข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ทำให้เกิดการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทฯ ได้คัดเลือกระบบของ SAP Business One (SAP B1) ซึ่งมีบริษัท เคอร์เนิล คอนซัลติ้ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบ และมีบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด เป็นที่ปรึกษาของบริษัทฯ โดยเริ่มใช้ระบบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554
ในเดือนธันวาคม 2553 บริษัทฯ ดำเนินการออกหุ้นกู้มูลค่ารวม 7,000 ล้านบาท เป็นผลสำเร็จ โดยแบ่งออกเป็น 7 ชุด อายุตั้งแต่ 3-10 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ยร้อยละ 4.84 เพื่อนำเงินมาชำระคืนเงินต้นก่อนกำหนดทั้งหมดให้แก่กลุ่มเจ้าหนี้ธนาคารพาณิชย์ตามสัญญาสินเชื่อ จากการออกหุ้นกู้ดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ สามารถกำหนดต้นทุนทางการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยคงที่ได้ในระยะยาว รวมถึงเป็นการปลดหลักประกัน และลดการควบคุมการใช้เงินผ่านบัญชีที่ควบคุมโดยตัวแทนหลักประกัน ตลอดจนช่วยในการวางแผนในการขยายธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ ยังเป็นปีแรกตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการที่บริษัทฯ สามารถจ่ายเงินปันผลได้
หลังจากเปิดให้บริการทางหลวงสัมปทานทั้ง 2 ส่วน บริษัทฯ ได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานจากทางภาครัฐ ทำให้บริษัทฯ มีผลประกอบการที่ขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการ และมีผลขาดทุนสะสมสูงสุดในปี 2549 จำนวน 5,601 ล้านบาท จนทำให้บริษัทฯ ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้กับกลุ่มเจ้าหนี้สถาบันการเงินและกลุ่มเจ้าหนี้ผู้รับเหมาก่อสร้างหลายครั้งในช่วงระหว่างปี 2541-2551 รวมถึงการเจรจากับภาครัฐตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบริษัทฯ โดยไม่ต้องนำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการทางศาล จนในที่สุดบริษัทฯ สามารถบรรลุข้อตกลงและได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานฉบับ 3/2550 ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 โดยมีเงื่อนไขที่ได้รับการปรับปรุงที่สำคัญ ได้แก่ การปรับอัตราราคาค่าผ่านทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าตามสัญญาสัมปทานโดยไม่ต้องขออนุมัติ และได้รับการขยายอายุสัมปทานจนไปสิ้นสุดวันที่ 11 กันยายน 2577 จนทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ รวมถึงการนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างทางการเงินในหลายด้าน เช่น ผู้ร่วมลงทุนใหม่ (Strategic Partner) การเจรจาจัดหาแหล่งเงินกู้ใหม่ การออกหุ้นกู้ และการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำหุ้นสามัญของบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
รัฐบาลมีความประสงค์ให้บริษัทฯ ขยายเส้นทางออกไปทางทิศเหนือตั้งแต่ กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง ถึง กม. 26+700 บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (ต่อจาก “โครงการส่วนเริ่มต้น” อีกประมาณ 5.6 กิโลเมตร) เรียกว่า “โครงการส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ” เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดบริเวณหน้าสนามบินดอนเมือง โดยรัฐบาลได้จัดหาแหล่งเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนระยะยาวจำนวน 8,500 ล้านบาท เพื่อมาใช้คืนหนี้ของเจ้าหนี้เดิม ปรับปรุงอัตราค่าผ่านทาง ขยายอายุสัมปทานจากปี 2557 ไปถึงปี 2564 และกระทรวงการคลังเข้ามาลงทุนในบริษัทฯ จำนวน 3,000 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ จึงสามารถขยายโครงการดังกล่าวได้และมีการลงนามบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวงฉบับที่ 2/2539 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539
บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวงฉบับที่ 1/2538 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2538 และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,622 ล้านบาท ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการ
โครงการส่วนเริ่มต้นได้เปิดให้ประชาชนใช้สัญจรอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2537 จากนั้น บริษัทฯ ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทและแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน โดยเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,500 ล้านบาท ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการ
บริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาสัมปทานโครงการก่อสร้างทางยกระดับจากกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2532 โดยได้เริ่มก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่กม. 5+700 บริเวณดินแดง ถึง กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง ระยะทางประมาณ 15.4 กิโลเมตร ซึ่งเรียกว่า “โครงการส่วนเริ่มต้น”
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ ในรูปแบบของบริษัทจำกัด โดยบริษัท ดิคเกอร์ฮอฟฟ แอนด์ วิดมานน์ จำกัด และบริษัท ศรีนครการโยธา จำกัด ภายใต้ชื่อ บริษัท ดอนเมืองโทล์ลเวย์ จำกัด เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2531 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,304,000,000 บาท