EN
/ TH

มิติด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร ธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และการปกป้องสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพที่ชีวิตที่ดีของคนในปัจจุบันและรุ่นต่อไป มุ่งมั่นให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า คำนึงถึงผลกระทบของมลพิษจากการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

จึงได้มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับการดำเนินงานให้มีความรับผิดชอบ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในตลอดกระบวนการของการดำเนินธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ และส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกในเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานทุกคน เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อม ผ่านคณะทำงานโครงการ 3Rs (Reduce Reuse Recycle) สำนักงานสีเขียว ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมและเป็นช่องทางให้พนักงานร่วมกันแสดงพลังและจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กร

ปริมาณการปล่อยก๊าชเรือนกระจกองค์กร ปี 2566
รวม 3,504 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

เป้าหมาย ปี 2567

ลดลง > %

เทียบกับปี 2566

การใช้พลังงานไฟฟ้า

การใช้พลังงานไฟฟ้า ปี 2566

4,723,248 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

เป้าหมาย ปี 2567

ลดลง > %

เทียบกับปี 2566

การจัดการขยะและของเสียตามหลัก 3Rs

ผลการคัดแยกขยะ ปี 2566

ปริมาณขยะและของเสียที่ผ่านกระบวนการ reuse และ/หรือ recycle

%

เป้าหมาย ปี 2567

รีไซเคิล > %

เทียบกับปี 2566

จัดซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มูลค่าการจัดซื้อ

คิดเป็น 67% ของปริมาณสั่งซื้อทั้งหมด

เป้าหมาย ปี 2567

มูลค่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม > 80%

เทียบกับปี 2566

การใช้น้ำ

ปริมาณการใช้น้ำ ปี 2566

15,919.53 ลูกบาศก์เมตร


เป้าหมาย ปี 2567

ลดลง > 10%

เทียบกับปี 2566

การใช้กระดาษ

ปริมาณกระดาษที่ใช้ปี 2566

7,818 กิโลกรัม


เป้าหมาย ปี 2567

ลดลง > 20%

เทียบกับปี 2566

เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกองค์กร

บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของประเทศไทยหลังจากเข้าร่วมประชุม COP26 โดยมีเป้าหมาย สำคัญให้ประเทศไทยเป็น Carbon Neutrality ในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 หลังจากนั้น ในการประชุม COP27 ประเทศไทยได้กำหนดนโนบายและแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหม่ ดังนี้

กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เร็วขึ้นกว่าเดิม 5 ปี

จากปี 2030 เป็นปี 2025

ปรับเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน

เร็วขึ้นกว่าเดิม 15 ปี

ปรับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

เร็วขึ้นกว่าเดิม 35 ปี

จากปี 2065 เป็นปี 2050

กำหนดเป้าหมาย NDC

เป็นร้อยละ 40 ภายในปี 2030

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ร้อยละ 40 ภายในปี 2030

แผนที่นำทางเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

ปริมาณการปล่อยก๊าชเรือนกระจก GHG (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ) ในปี 2567

ขอบเขตที่ 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง

507 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน

2,362 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

อื่นๆ

635 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง

จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการ บำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น

ขอบเขตที่ 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน

ได้แก่ การซื้อพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ มาใช้ในองค์กร เป็นต้น

ขอบเขตที่ 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้านอื่นๆ

เช่น การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

CERTIFICATE Number : TGO CFO FY24-02-337
CERTIFICATE Number : ISO 14064 - 1 : 2018

อาคารเขียว

บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารปฏิบัติการ (Main Operation Center) โดยนำหลักเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทยหรือ Green Building โดยคำนึงถึง การใช้ทรัพยากร พลังงาน และสภาพแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ลดการก่อมลภาวะ ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้น้ำ และสร้างสรรค์พื้นที่ที่มีคุณภาพของผู้ใช้อาคาร

การใช้พลังงาน, น้ำ และทรัพยากรอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์
มาตรการลดมลภาวะและของเสีย รวมไปถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล
คุณภาพของสภาวะแวดล้อมในอาคารที่ดี
การใช้วัสดุปลอดสารพิษ วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน
คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจากการออกแบบ ก่อสร้าง และการใช้งาน
คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในด้านการออกแบบ โครงสร้าง และการใช้งาน
การออกแบบอาคารที่เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้

คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร

TREES-EB คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environment Quality) IE 1.4 จัดให้มีพื้นที่สูบบุหรี่

เกณฑ์การประเมินในส่วนของสภาพแวดล้อมภายใน (IE) มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้านสภาวะน่าสบายแสงธรรมชาติ และทัศนียภาพ ตลอดจนคุณภาพอากาศภายในที่ดี ไม่มีการสะสมของสารพิษและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ประกาศยกเลิกที่พักสูบบุหรี่เดิม และประกาศใช้เขตสูบบุหรี่ใหม่ตามเกณฑ์อาคารเขียวไทย

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ต้องการลดผลกระทบที่ จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้อาคาร พื้นที่ภายในตัวอาคารและระบบการระบายอากาศ (Ventilation System) จากการสูบบุหรี่ โดยกำหนดนโยบาย ห้ามสูบบุหรี่ภายในอาคารและจัดพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ โดยห่างจากประตูต่าง ๆ และช่องนำอากาศเข้าไม่น้อยกว่า 10 เมตร เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ TREES-EB หัวข้อ IR 1.4

สำนักงานสีเขียว

บริษัทฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว จากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงาน และอาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย และดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2608

การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงาน

การจัดการขยะและของเสีย

โครงการ การนำฝุ่นและเศษวัสดุจากรถกวาดดูดฝุ่นและเศษวัสดุจากการซ่อมบำรุงผิวทางยกระดับกลับมารีไซเคิล

บริษัทฯ พร้อมด้วยอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันพลาสติก บริษัท ซีโร่ เวสท์ โยโล จํากัด และบริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด สนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยและทดลองการขึ้นรูปฝุ่นจากรถกวาดดูดฝุ่นผสมกับขยะพลาสติก เป็นวัสดุตกแต่งและปูทางเดิน โดยมีขอบเขตการวิจัย คือ การนำฝุ่นที่มาจากการดูดกวาดบนสายทาง มาผสมกับขยะพลาสติกทั้งหมด 5 ประเภทคือ HDPE, PP, PS, PET และพลาสติกรวม ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการคัดแยกขยะพลาสติกรีไซเคิล โดยในการทดลองนั้น จะปรับเปลี่ยนสัดส่วนของฝุ่นและปริมาณพลาสติกแต่ละประเภท เพื่อหาแนวทางการขึ้นรูปผลิตอิฐก้อนหรือแผ่นกระเบื้อง โดยการนำไปทดสอบความแข็งแรง และความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำไปใช้จริง สรุปจากการศึกษาและวิจัยพบว่า อิฐก้อนหรือแผ่นกระเบื้องตัวอย่าง PP thermoforming (50%+50%+glycerol) มีค่าความแข็งสูงที่สุด และมีแนวโน้มที่จะมีอายุการใช้งานได้ยาวนานที่สุด เมื่อเทียบกับการขึ้นรูปกับพลาสติกประเภทอื่นๆ และได้ทำการขึ้นรูปชิ้นงานของอิฐก้อน และแผ่นกระเบื้อง ในรูปแบบและลวดลายเสมือนการใช้งานแผ่นกระเบื้องทั่วไป

เป้าหมาย

การจัดการขยะและของเสีย Recycle > 20% เทียบกับปี 2565

กลยุทธ์การบริหารจัดการใช้หลักการ

3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) การลดปริมาณของเสียโดยการลดการใช้ (Reduce) การนำของเสียกล่บมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

ดำเนินการตามระบบการบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001

แผนการดําเนินการปี 2566

ประเภทของเสียนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้ 22% สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

แผนงานอนาคต

ควบคุมการจัดการของเสียและขยะให้เป็นไปตามหลักการ 3Rs อย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ มีการจัดการของเสียด้วยการคัดแยกและกำจัดขยะตามที่กฎหมายกำหนด ส่งเสริมการใช้ซ้ำและการรีไซเคิล เช่น การนำใบเสร็จค่าผ่านทาง กระดาษที่ไม่ใช้แล้วสองหน้า รีไซเคิลผลิตสมุด Green Way เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนทั่วประเทศ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมกับบริษัท Start up ด้านการจัดการขยะ GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด) ดำเนินการคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการดำเนินการด้านการยกระดับการจัดการขยะอย่างยั่งยืน เพื่อเป้าหมายการลดขยะนำไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) โดยการนำขยะที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และอาคารด่านเก็บค่าผ่านทางมาคัดแยกให้เป็นระบบ และนำขยะบางส่วนไปทำประโยชน์

โครงการติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสำนักงานและอาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง (Solar Rooftop)

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) จำนวน 2 แห่ง บนอาคารสำนักงาน (Main Operation Center) และอาคารด่านเก็บค่าผ่านทางดอนเมือง ขนาด 200 KWp สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 484,900 KWh/Year และทำให้ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กว่า 25-30% คิดเป็นปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกได้ที่ 225 tonCO2e/Year

นอกจากนี้ มีการติดตั้ง Solar Rooftop เพิ่มเติมบนอาคารด่านเก็บค่าผ่านทางทั้งหมดอีก 8 อาคารด่านฯ ขนาด 180 KWp แผนแล้วเสร็จกลางปี 2567

อุปกรณ์แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโทรศัพท์ฉุกเฉินบนทาง

ได้ติดตั้งโทรศัพท์ฉุกเฉินพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนอุปกรณ์เดิมที่ใช้งานมานานมากกว่า 25 ปี ดำเนินการเปลี่ยนโทรศัพท์ฉุกเฉินบนทางเป็นระบบ GSM และใช้พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 99 ชุด

การใช้และให้บริการรถยต์ไฟฟ้า (EV)

บริษัท ได้ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ ชาร์จเร็ว (DC Fast Charge) ขนาด 50KW ซึ่งสามารถชาร์จให้เต็มความจุได้ ภายใน 1 ชั่วโมง และ มีนโยบายเปลี่ยนรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า สำหรับใช้ในกิจการของบริษัทฯ

การจัดการคุณภาพมลพิษ

บริษัทฯ มีการติดตามเฝ้าระวังและตรวจวัดค่ามลพิษจากการดำเนินงาน โดยหน่วยงานตรวจวัดที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีผลการตรวจวัดดังนี้

คุณภาพมลพิษทางอากาศที่ ตรวจวัดโดย 3rd Party อยู่ในค่ามาตรฐาน

100%

ข้อร้องเรียนด้านมลพิษ

0 เรื่อง

เป้าหมาย
  • ผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เสียง, ฝุ่น, สารตะกั่ว, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, แสงสว่าง, น้ำทิ้งจากอาคาร
  • ให้เป็นไปตามกฏหมายกำหนด
  • ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมจากชุมชนเป็นศูนย์
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ

ดำเนินงานภายใต้ระบบการบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 สื่อสารคุณภาพสิ่งแวดล้อมแก่สาธารณชนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

  • เลือกใช้เชื้อเพลิง/พลังงานสะอาด
  • เลือกใช้เทคโนโลยี ลดการระบายมลพิษทางอากาศ
  • ควบคุมปริมาณมลพิษจากการดำเนินงาน ให้อยู่ในค่ามาตรฐานตามกฎหมายกำหนด
แผนงานอนาคต
  • ดำเนินการตามระบบการบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ควบคู่กับระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001
  • ดำเนินการตามแนวทางอาคารเขียว (Green Building) และสำนักงานสีเขียว (Green Office)

บริษัทฯ ตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป และเก็บตัวอย่างอากาศด้วย High Volume Air เพื่อวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง ที่หน้าตู้เก็บค่าผ่านทางของด่านเก็บค่าผ่าน

บริษัทฯ จัดให้มีการตรวจวัดและประเมินระดับเสียงในสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน โดยหน่วยงานภายนอก เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการควบคุมป้องกัน และปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระดับเสียงดังให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการเฝ้าระวังประเด็นปัญหาด้านเสียงที่อาจกระทบต่อชุมชนตลอดเส้นทางให้บริการทางยกระดับ

บริษัทฯ มีการจัดการขยะและของเสีย ด้วยวิธีการคัดแยกและกำจัดขยะตามที่กฎหมายกำหนด ส่งเสริมด้วยแนวคิด 3Rs ลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการ จัดการขยะและของเสีย ลดปริมาณการเกิดของเสียที่ส่งกำจัดทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด และหาโอกาสในการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งสู่เป้าหมายการนำขยะและของเสียจากกระบวนการทางธุรกิจไปฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)

บริษัทฯ ได้จัดการมลพิษทางน้ำตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด พ.ศ. 2548 และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเส้ยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2548 โดยกำหนดให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจวัดประเมินเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อละเมิดกฎหมาย (กรณี)

2564

0

2565

0

2566

0


ค่าปรับ (บาท)

2564

0

2565

0

2566

0

การประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ GRI201-2

ข้อมูลการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ตามการจัดหมวดธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Thai Stock Exchange of Thailand หรือ SET) ตลอดจนศีกษาผลกระทบจากพระราชบัญญัติที่จะมีการบังคับใช้ในอนาคต เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสในการพัฒนาองค์กร โดยมีประเด็นที่มีนัยสำคัญดังนี้

  1. ประเด็น ความเสี่ยงสูงมาก ประเมินผล และการเปิดเผยข้อมูลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ระบุในรายงานประจำปีเพียง 2 โครงการ จากทั้งหมด 16 โครงการ รวมถึงขาดการกำหนดแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ (Hotspot) ที่ชัดเจน อาจส่งผลให้ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายที่กำหนดตามความเสี่ยงข้อ 1 2 และ 3 เกิดจากการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกแต่ขาดการติดตาม
  2. ประเด็น ความเสี่ยงสูง เกิดจากพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ที่ระบุเป้าหมายของประเทศและมาตรการทางภาษี ตามความเสี่ยงข้อ 4 5 6 และ 7
  3. ประเด็น ความเสี่ยงปานกลาง เกิดจากพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ที่ควบคุมยานพาหนะจะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐาน ตามความเสี่ยงข้อ 8
  4. ประเด็น ความเสี่ยงต่ำ เกิดจากพระราชบัญญัติกำหนดการรายงาน และบทลงโทษ ต่างๆ ตามความเสี่ยงข้อ 9 10 และ 11