มิติสังคม
สมาชิก LINE OA
ราย
ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการ
ความปลอดภัย (ผู้รับเหมา)
การบาดเจ็บจาการทำงาน
0 ราย
2564
2565
2566
การบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR)
2564
2565
2566
1
3
1
การเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานต่อ 200,000 ชั่วโมงการทำงาน
2564
2565
2566
0
0
0
สิทธิมนุษยชน
2565
2566
ร้อยละการประเมินความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชน
2565
2566
100%
100%
ไม่มีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2565
2566
0 เรื่อง
0 เรื่อง
ข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
2565
2566
0 เรื่อง
0 เรื่อง
เป้าหมายและกลยุทธ์การจัดการด้านสังคม
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงานปี 2566 | แผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน กรอบ 5 ปี (2566-2570) | |
---|---|---|---|
ด้านการดูแลพนักงานระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน |
ร้อยละ 60 | ร้อยละ 71.75 | กลยุทธ์ HPO Resilience Management |
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานการบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) |
Zero Accident | 1 คน | กลยุทธ์ HPO Resilience Management |
ด้านความรับผิดชอบต่อลูกค้าความพึงพอใจของลูกค้าต่อด้านการบริการ |
>ร้อยละ 80 | ร้อยละ 80.1 | กลยุทธ์ Safer Road Traffic Management/Maintenance |
ความพึงพอใจและประเด็นความคาดหวังที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีต่อการดำเนินงานของกลุ่มคู่สัญญา คู่ค้ารายสำคัญ |
|||
คู่ค้ารายสำคัญที่ได้รับการประเมิน | ร้อยละ 100 | การประเมินคู่ค้ารายสำคัญ ร้อยละ 100.00 | กลยุทธ์ Relationship/Synergy Development |
ความพึงพอใจของคู่ค้ารายสำคัญ | >ร้อยละ 90 | ความพึงพอใจของคู่ค้ารายสำคัญ ร้อยละ 95.66 | |
ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม ชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน |
|||
ผลสำรวจความพึงพอใจของชุมชมและสังคม | >ร้อยละ 80 | ร้อยละ 73.82 |
|
ไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชนในวงกว้าง | ไม่มีข้อร้องเรียน | ไม่พบว่ามีผลกระทบด้านลบอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด |
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ได้ประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยยึดหลักการปฏิบัติตามข้อตกลงโลก (UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights : UDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGP) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work : ILO) มาเป็นแนวทางและกรอบการดำเนินงาน ทั้งในด้านการจ้างงานอย่างเทียม โดยไม่จำกัดวิถีทางเพศ ทั้งชาย หญิง ผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหลากหลาย (LGBTQ) และผู้พิการ ส่งเสริมการเจรจาต่อรอง
เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ปลอดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการบริษัทจึงเห็นสมควรให้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน แรงงานเด็ก การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด ในทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท (Direct Activity) รวมถึงคู่ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Business Partner in Business Value Chain)
การเจรจาต่อรอง
บริษัทฯ เปิดโอกาสให้มีการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ในการเจรจาสิทธิประโยชน์ของพนักงานกับบริษัทฯ ผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการตามมาตรา 96 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นผู้แทนของพนักงานที่มาจากการเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด (ปัจจุบันมีผู้แทนพนักงานที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 5 คน) ซึ่งแสดงถึงการสนับสนุนสิทธิในการทำงานตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UNGP) เพื่อพัฒนาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานร่วมกับผู้แทนฝ่ายบริหาร ทำให้พนักงานได้รับสวัสดิการตรงตามความต้องการ และความคาดหวังอย่างเหมาะสม และมีการประชุมปรึกษาหารือกับผู้บริหาร ร่วมกันทุกไตรมาสตามที่กฎหมายกำหนด
นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อลูกค้า
บริษัทฯ ถือว่าผู้ใช้บริการทางยกระดับเป็นผู้มีอุปการคุณอย่างยิ่งที่ทําให้บริษัทฯ สามารถดํารงกิจการ อยู่ได้เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบันนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นการให้บริการอย่างตรงไปตรงมาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และให้ข้อมูลขององค์กร และการให้บริการอย่างถูกต้อง เพียงพอ เที่ยงตรง และปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะ คําติชม ตลอดจนคําวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้บริการทางยกระดับอยู่เสมอ เพื่อนําไปพัฒนาการให้บริการต่อผู้ใช้บริการทางยกระดับให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย และความพึงพอใจ รวมถึง ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมในเรื่องของบริการ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งกรณีการให้บริการปกติและกรณีเกิดปัญหาในการใช้บริการ ซึ่งบริษัทฯ จะเร่งดำเนินการประสานงานเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที อีกทั้ง บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าที่ได้ล่วงรู้มา รับผิดชอบต่อการเก็บรักษาประวัติและความลับของลูกค้า และเพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการบริหารจัดการของบริษัทฯ ในการป้องกันความเสี่ยงอันอาจทำให้ข้อมูลถูกเข้าถึงโดยมิชอบ รั่วไหล ถูกแฮกข้อมูล ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข สูญหาย บริษัทฯ ถือปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และสารสนเทศ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ตามกฎหมาย นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถร้องเรียนได้เกี่ยวกับ ความไม่สมบูรณ์ของบริการ
บริษัทฯ มีแผนงานดูแลบริหารความสัมพันธ์ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับกับลูกค้าตามกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจ เพราะลูกค้าเป็นผู้ซื้อบริการทำให้บริษัทฯ มีรายได้ สามารถทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน บริษัทฯ จึงต้องมีแนวทางและหลักปฏิบัติในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าผู้ใช้ทางยกระดับ มุ่งเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า บริษัทฯ ได้จัดให้มี CRM Platform เพื่อวัดผลการให้บริการและใช้สำหรับพัฒนาแผนงานดูแลบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ซึ่งบริษัทฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อคู่สัญญาและคู่ค้า
บริษัทฯ มีนโยบายการปฏิบัติต่อคู่ค้า/คู่สัญญาด้วยความยึดมั่นในความซื่อสัตย์ต่อการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ให้ไว้ต่อคู่ค้าทุกประเภท ภายใต้เงื่อนไข หลักเกณฑ์ และกฎหมายที่กำหนด ด้วยความสุจริต โปร่งใส และเท่าเทียมกัน
จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
นโยบายด้านการดูแลพนักงาน
บริษัทฯ ได้มีเป้าหมายในการพัฒนาพนักงานทุกระดับให้ร่วมกันขับเคลื่อนองค์กร ตามค่านิยม CAT เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์โลกในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ พร้อมกับได้นำประเด็นสำคัญจากการสำรวจความผูกพันพนักงาน (Employee Engagement Survey) ที่ได้เริ่มจัดทำในปี 2565 เป็นปีแรก มาพัฒนาเป็นแผนงานให้การดูแลพนักงาน
ในปี 2566 บริษัท ฯ มีการว่าจ้างพนักงาน
373 คน
เพศชาย
192 คน
เพศหญิง
181 คน
คนพิการ
เพศชาย2 คน
เพศหญิง1 คน
กรอบการดูแลพนักงานตามแนวทาง The Best Employer
การจ้างงานคนพิการ
ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
เป้าหมาย
4 คน
อัตราการจ้างคนพิการ 100:1 ตามมาตรา 33 | ชาย | หญิง |
---|---|---|
พนักงานระดับหัวหน้าแผนก | - | 1 |
พนักงานระดับปฏิบัติงาน | 2 | - |
การสร้างอาชีพคนพิการ
ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
เป้าหมาย
1 คน
พ.ศ. | ส่งเสริมอาชีพ | จำนวนอัตราคนพิการ | พื้นที่ดำเนินการ |
---|---|---|---|
2560 | เลี้ยงไก่ไข่ | 2 | จังหวัดสระแก้ว |
2561 | เลี้ยงไก่ไข่ | 2 | จังหวัดนครราชสีมา |
2562 | เลี้ยงไก่ไข่ | 2 | จังหวัดราชบุรี |
2563 | เลี้ยงไก่ไข่ | 2 | จังหวัดราชบุรี |
2564 | เลี้ยงไก่ไข่ | 2 | จังหวัดราชบุรี |
2565 | เลี้ยงไก่ไข่ | 2 | จังหวัดนครราชสีมา |
2566 | เลี้ยงไก่ไข่ | 2 | จังหวัดนครราชสีมา |
นโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
บริษัทฯ ใส่ใจและมุ่งมั่นต่อความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ถือเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญของธุรกิจ บริษัทฯ กำหนดให้ผู้บริหาร พนักงาน คู่ค้าและผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของตนเอง เพื่อนร่วมงาน ชุมชน ตามนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
นโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
นโยบายด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม
บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสําคัญต่อการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี โดยเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติตามแนวหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร จะสามารถนําพาธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้อยู่รอดร่วมกันได้ บริษัทฯ ถือว่าความเข้าใจในหลักการ ที่ถูกต้องและคุณประโยชน์จากการปฏิบัตินั้น ถือเป็นเรื่องจําเป็นที่พนักงานของบริษัทฯ จะต้องตระหนัก ด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งนี้เพราะความเข้าใจจะช่วยให้นโยบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ที่มีอยู่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง
นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม 5 ด้านเพื่อความยั่งยืน
โดยมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมทั้งในส่วนพื้นที่ใกล้เคียงและวงกว้าง สร้างมูลค่าและคุณค่าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ผสานเข้ากับการดำเนินงานของบริษัท ฯ