มิติเศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการ
หลังสำรองตามกฎหมาย
สัปทานเดิมเฉลี่ย
ส่วนต่อขยายเฉลี่ย
รวมเฉลี่ย
ณ สิ้นปี 2566
ตัวชี้วัด | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน | ||
---|---|---|---|---|
2566 | 2570 | 2565 | 2566 | |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีนัยสำคัญ | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนกรณีละเมิดจรรยาบรรณทางธุกิจที่มีนัยสำคัญ | 0 | 0 | 0 | 0 |
การประเมินคุณภาพการจัดประชุม ผู้ถือหุ้น
คะแนนประเมิน
ความมุ่งมั่นในการต่อต้านการคอร์รัปชัน
ผ่านการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
การกำกับดูแลกิจการ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสําคัญในการปฏิบัติ ตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) และเชื่อมั่นว่ากระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดีเป็นปัจจัยสําคัญยิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดําเนินกิจการของบริษัทฯ ให้บรรลุเป้าหมายและพันธกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นฐานให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้การดําเนินการอย่างมีจรรยาบรรณ ดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งยังให้เป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กําหนดนโยบายเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทฯ และมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี
นโยบายการกำกับการดูแลกิจการการต่อต้านการคอร์รัปชัน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยบริษัทฯ ได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน” เป็นลายลักษณ์ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่ความยั่งยืน ในปี 2566 คณะกรรมการบริษัทได้ทบทวนและปรับปรุงนโยบายและมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและการดำเนินงานของบริษัทฯ และสื่อสารนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนรับทราบและยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งสื่อสารไปยังคู่ค้า/คู่สัญญาและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มรับทราบ
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันการบริหารความเสี่ยงองค์กร
บริษัทฯ ได้จัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทุกด้านครอบคลุมปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องที่อาจทำให้บริษัทฯ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย พิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดและระดับความรุนแรงของผลกระทบ กําหนดมาตรการ ในการป้องกันแก้ไขและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งกําหนดมาตรการในการรายงานและการติดตาม ประเมินผล ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัทฯ ด้านความสามารถการดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในปัจจุบัน โดยผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามระบบบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐาน และสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่กำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยง โดยมีคณะทำ0งานบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ทำหน้าที่รับผิดชอบติดตามตรวจสอบการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงานและเป็นผู้จัดหาข้อมูล และดำเนินการตามที่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมอบหมาย ส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงแก่บุคลากรและผลักดันให้มีการนำไปใช้อย่างจริงจัง นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จัดทำคู่มือและแผนการบริหารความเสี่ยงเสนอให้คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นแนวในการปฏิบัติ โดยมีการทบทวนระบบหรือประเมินประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละหนึ่ง (1) ครั้ง และในทุกๆ ระยะเวลาที่พบว่าระดับความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลง
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
บริษัทฯ เป็นองค์กรธุรกิจที่ให้ความใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องของความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่นในงานบริการ และความผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยจะมุ่งมั่นการบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส มีคุณธรรมและรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
การต่อต้านคอร์รัปชัน
บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และไม่ยอมรับการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการยึดหลักในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส สุจริต และเป็นธรรม ตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบ ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในประเทศที่ดำเนินธุรกิจและแนวทางระดับสากล ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยนำไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESG) พร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพคู่ค้าของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับบริษัทฯ เพื่อให้มีการพัฒนาการเติบโตขยายผลสู่สังคมในวงกว้าง บริษัทฯ ได้จัดทำและเผยแพร่จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct: SCOC) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของคู่ค้าที่จะเข้าร่วมกับบริษัทฯ ได้แก่
- จรรยาบรรณทางธุรกิจ (Business Ethics)
- สิทธิมนุษยชนและแรงงาน (Human rights and Labor)
- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Safety and Occupational Health)
- การจัดการสิ่งแวดล้อม และชุมชน (Environmental and Community Management)
รวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากคู่ค้าของบริษัทฯ พร้อมทั้งแนวทางป้องกัน
หลักเกณฑ์ในการระบุคู่ค้ารายสำคัญ
บริษัทฯ ได้จำแนกคู่ค้าออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- คู่ค้าสำคัญทางตรง (Critical Tier 1 Supplier)
- คู่ค้าสำคัญทางอ้อม (Critical Non Tier 1 Supplier)
- คู่ค้าสำคัญ (Significant Tier 1 Supplier)
- คู่ค้าสำคัญทางอ้อม (Significant Non Tier 1)
ทำให้บริษัทฯ สามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนบริหารความเสี่ยงของคู่ค้าของ บริษัทฯ
เกณฑ์ในการวิเคราะห์
- เป็นคู่ค้าที่มีมูลค่าการสั่งซื้อสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ หรือที่ไม่สามารถเปลี่ยนทดแทนได้ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและวิศวกรรมขั้นสูง
- เป็นคู่ค้าให้ความร่วมมือในการพัฒนาและจัดหาอุปกรณ์สำหรับระบบต่างๆ ในการให้บริการที่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทฯ
การประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมของคู่ค้าบริษัทฯ
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
- ความสอดคล้องกับกฎหมาย
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- มลพิษทางเสียงและแรงสั่นสะเทือน
- การใช้น้ำและปล่อยน้ำเสีย
- การใช้พลังงาน
- วัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ที่มีสารพิษและได้การรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม หรือปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001
ประเด็นด้านสังคม
- ปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
- การปฏิบัติแรงงานอย่างเป็นธรรม
- ความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎหมาย
ประเด็นด้านการกำกับดูแลกิจการ หรือเศรษฐกิจ
- การต่อต้านทุจริต
- คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ
- การแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม และทรัพย์สินทางปัญญา
- ความมั่นคงทางการเงิน
- มีการดำเนินธุรกิจอย่างสอดคล้องกับจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า หรือมีการปฏิบัติตามระบบควบคุมและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตราฐาน ISO
กระบวนการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้า
คู่ค้าสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง (Current Approved Vendor List)
บริษัทฯ มีการกำหนดให้มีการประเมินคู่ค้าที่มีการจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้ง ตามแบบประเมินผลงานคู่ค้า (Supplier Evaluation From) โดยแบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่
- ด้านคุณภาพ
- ด้านบริการ
- ด้านสิ่งแวดล้อม
- ด้านเวลาส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ
- ด้านความพึงพอใจ กิริยา เอกสารส่งมอบงานครบถ้วน
- ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
A | ดีมาก (81 คะแนนขึ้นไป) |
---|---|
B | ดี (70-80 คะแนน) |
C | ปานกลาง (60-69 คะะแนน) |
D | ต่ำ (น้อยกว่า 60 คะแนน) ต้องปรับปรุง |
กรณีผลการประเมินอยู่ในระดับ D (ต่ำ) “ต้องปรับปรุง” บริษัทฯ จะทำหนังสือแจ้งเตือนพร้อมระบุครั้งที่เตือน หากคู่ค้าได้รับหนังสือเตือน 2 ครั้ง และผลการประเมินยังคงเป็น “ต้องปรับปรุง” ให้ถือว่าคู่ค้าไม่ผ่านการประเมิน และแจ้งขอคัดออกจากทะเบียนรายชื่อคู่ค้า
การประเมินคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ (New Vendor)
ในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ บริษัทฯ ดำเนินการคัดกรองคู่ค้าด้วยวิธีการประเมินคุณสมบัติตามแบบประเมินคู่ค้ารายใหม่ (New Supplier Evaluation Form) เพื่อให้ได้คู่ค้าที่พึงประสงค์ โดยใช้หลักเกณฑ์ครอบคลุมประเด็นด้านความยั่งยืน ประกอบด้วย ด้านกำกับดูแลกิจการและเศรษฐกิจ อาทิ คุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการการส่งมอบที่ตรงเวลา ประสบการณ์ในการดำเนินงาน และการรับประกันสินค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังประเมินครอบคลุมถึงมิติสิ่งแวดล้อม เช่น การปฏิตามกฎหมาย การจัดทำมาตรการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม เช่น การใช้แรงงาน สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นปัจจัยในการพิจารณา และนำส่งนโยบายจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าให้กับคู่ค้าทุกรายได้รับทราบเป็นแนวทางในการปฏิบัติพร้อมลงนามรับทราบและแจ้งกลับตามช่องทางที่แผนกจัดซื้อกำหนดไว้
การติดตามหรือประเมินคู่ค้า
บริษัทฯ มีการประเมินคู่ค้าตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินคู่ค้าตามจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า และประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าเป็นประจำทุกปี ครอบคลุมประเด็นทั้งในด้านคุณภาพและการจัดส่งที่ตรงเวลา ทั้ง บริษัทฯ กำหนดให้หน่วยงานจัดซื้อลงพื้นที่ตรวจประเมินคู่ค้า (On Site ESG Audit) โดยการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสำหรับคู่ค้าการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การตรวจประเมินตนเองของคู่ค้า (Self Assessment) การตรวจประเมินพื้นที่ปฏิบัติการของคู่ค้า (On-site Visit) เป็นต้น
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของคู่ค้า
บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนาส่งเสริม สนับสนุน ศักยภาพของคู่ค้าผ่านการให้ความร่วมมือ และแนวทางการพัฒนา ดังนี้
- กำหนดให้มีการวางแผนธุรกิจกับคู่ค้าเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทฯและคู่ค้า เพื่อทดลอง ทดสอบ และพัฒนานวัตกรรม หรือโครงการใหม่ ที่สามารถยกระดับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ และคู่ค้าไปพร้อมกัน
- การประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของคู่ค้า เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานตามข้อกำหนดของบริษัทฯ
- การสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับคู่ค้า ส่งเสริมความผูกพันและความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับคู่ค้า ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์กรความรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน และการจัดประชุมคู่ค้าเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เป็นต้น
- การให้ความร่วมมือของคู่ค้ากับบริษัทฯ ในเรื่องตัวอย่างสินค้า ใบเสนอราคา ข้อมูลอื่นๆ เช่น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct : SCOC) ครอบคลุมจรรยาบรรณธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาการส่งมอบ และเงื่อนไขการชำระเงิน
นอกจากนี้ ได้ประสานความร่วมมือกับคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ในการหาแนวทางปฏิบัติงานร่วมกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการร่วมมือการพัฒนาจากข้อมูล ความรู้ที่แบ่งปันระหว่างกัน นำมาคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการ หรือการบริการใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล บริษัทฯ ได้มีโครงการที่ทำร่วมกับคู่ค้าที่เกิดจากการแบ่งปันความรู้และเทคโนโลยี เช่น CRM Loyalty Platform , การออกแบบพัฒนาการบริหารเงินสดแบบครบวงจร การนำนวัตกรรมเครื่องเก็บเงินดิจิตัลจากพันธมิตรมายกระดับการทำงานต่อผู้ปฏิบัติงาน
นโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)
บริษัท ฯ ได้มีการประกาศงดรับ หรือให้ของขวัญ หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด (No Gift Policy) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และในโอกาสอื่นใด ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.tollway.co.th เป็นประจำทุกปี
นโยบายภาษี
บริษัทฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษี จึงได้กำหนดนโยบายภาษีขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบในการทำงานของบริษัทฯ และรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มสุงสุดตามหลักบรรษัทภิบาลที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ โปร่งใสและมีจริยธรรม
นโยบายภาษี
ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและไซเบอร์ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
บริษัทฯ มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพของระบบจัดการความปลอดภัยสารสนเทศและข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และสารสนเทศ และนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) ของบริษัทฯ
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ และระบบป้องกันต่างๆ เพื่อดำเนินงานด้านความปลอดภัยของข้อมูลทางไซเบอร์และระบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ที่สอดคล้องตามระบบมาตรฐาน ISO 27001 นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดให้มีการซ้อมแผนกู้คืนระบบสารสนเทศ (Disaster Recovery Plan) และแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน (IT Continuity Plan) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในกรณีเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือกรณีเกิดภัยพิบัติต่อศูนย์ข้อมูลหลัก (Primary Data Center) และเพื่อควบคุมสถานการณ์ ลดความเสียหายและผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทฯ และให้การใช้งานระบบสารสนเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
การบริหารจัดการนวัตกรรม
การตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เพียงแต่สร้างรายได้และความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ เท่านั้น แต่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคมและสั่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและการให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี กฎหมาย และพฤติกรรมของผู้บริโภค พร้อมทั้งขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการใช้ความคิ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในกระบวนการทำงานภายใต้หลักการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน ยกระดับการบริการทั้งภายในและภายนอก และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีแนวทางการพัฒนานวัตกรรมของบริษัทฯ